cheek in '' checkpoint ''

:   check in ''Checkpoint''

เมืองสีหม่น ที่ไร้ฤดูหนาว

กลิ่นดิน กลิ่นฝน ลอยคลุ้ง จรรโลงจิต

เมืองที่ถูกแบ่งแยก จากดินแดนด้ามขวาน

ถูกบดบังด้วย   ม่านหมอกมายา

         ดินแดน   ‘’ปาตานี ‘’

เมืองที่ผู้คน ส่งเสียงร้องเรียก  สันติภาพ ดังออกไป

แต่เหมือน ดังก้องแค่อยู่ ภายในใจ  ว่าเมื่อใด…. บ้านของฉันจะสงบ ....

เราถูกปลอบประโลมด้วยสิ่งใด ..

เหมือนติดอยู่ในเมืองที่ พายุไม่มีวันพัดผ่าน

ทุกสิ่งอย่าง มืดหม่น ลงในพริบตา

                                                                                                   ถึง.. อิสรภาพจะไม่เกิดขึ้นในตอนที่ฉันยังมีลมหายใจ

                                                                                                   แต่ อิสรภาพ นั้น จะอยู่ในใจ ‘’  นิรันดร์กาล ‘’

                                                                                                   ด้วยใจ ที่ยังหวัง

-            :    Checkpoint  จัดแสดงที่ patani  artspace  ของศิลปิน 6 คนที่เรียนจบจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี  โดยใช้ชื่อแทนกลุ่มว่า  signature  ทั้ง 6 คนรวมตัวกันทำงานเคลื่อนไหวทางศิลปะในพื้นที่  สามจังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส.

-            :  แรงบันดาลใจของการทำงานนิทรรศการครั้งนี้เกิดจาก  ข้อสงสัย เกี่ยวกับด่านในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอยากถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านงานศิลปะ

-            :  นิทรรศการ Checkpoint ที่เล่าถึง ความรู้สึกของศิลปิน ทั้ง 6 คน ถึงงานศิลปะผ่านความรู้สึกที่หลากรส และเข้มข้น

-             :  ศิลปะตอบแทนคุณบ้านเกิด

 

  ว่ากันว่า ศิลปะคือความงาม ที่ทุกคนสามารถตีความหมายได้ตาม ความเข้าใจของแต่ละบุคคลโดยไม่มีคำว่าถูกผิด มาตีกรอบ  ความงดงาม หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของงานศิลปะ แล้วแต่หลายคนจะตีความของความงดงาม แตกต่างกันออกไป  โดยเฉพาะในพื้นที่ สามจังหวัด ที่ใครหลายคน ขนานนามว่าเป็นพื้นที่ของความรุนแรง ความขัดแย้ง การใช้ความสวยงามแทนภาพรุนแรง สื่อสารให้เป็นงานศิลปะจึงเป็นวิธีการที่ศิลปิน มักใช้ถ่ายถอด อารมณ์ สร้างสรรค์ ออกมา เป็นผลงาน ให้ดึงดูดสายตาของผู้คน

          ศิลปะสามารถเยียวยาจิตใจของทั้งผู้ชมงานและตัวศิลปินได้ด้วย เปรียบเสมือน ยา ที่ช่วยรักษา อาการเจ็บปวดจากภาวะที่สังคมกำลังสิ้นหวัง ความงดงามที่ถูกถ่ายทอดขึ้นมา ในสภาวะความขัดแย้ง ด้วยความรู้สึกกดดัน ข้อสงสัยมากมายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าสมควรหรือไม่ เกิดเป็นคำถามและความสนใจร่วมของกลุ่มศิลปิน จนได้สร้างสรรค์งานศิลปะ ภายใต้ conceptนิทรรศการ’’Checkpoint‘’

          Signature เป็นกลุ่มศิลปิน ที่อยู่ใน patani artspace  โดยแต่ละคน จบการศึกษาจากสาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่รวมตัวกันทำงานเคลื่อนไหวทางศิลปะในพื้นที่สามจังหวัด โดยมีแรงบันดาลใจในการจัดทำนิทรรศการครั้งนี้จากเหตุการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน                                                                                                                                                              

            บ้านเราเป็นด่านทหาร ไม่ใช่ ด่านตำรวจเหมือนที่อื่น การมีด่านทหารไม่ใช่การแก้ไขปัญหาแต่เป็นการสร้างปัญหามากกว่า   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปีน่าจะสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้แล้วว่า ด่าน ไม่ใช่เครื่องมือแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม การมีด่านจำนวนมากเกินไปกลับทำให้คนภายนอกกลัวคนสามจังหวัดชายแดนใต้.และไม่กล้าเข้ามาในพื้นที่  เพราะคิดว่าเป็นพื้นที่อันตราย คนสามจังหวัดชายแดนใต้คือกลุ่มผู้ก่อการร้าย  จึงถูกปกครองด้วยอำนาจของทหาร และมีด่านเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด

 

 

      ‘’ ทหารมีการ ตั้งด่านตรวจเต็มไปหมด ในพื้นที่  จะไปไหนมาไหนก็รู้สึกอึดอัด ผมต้องเห็นด่านตรวจทุกวันตั้งแต่ตอนเรียน จนตอนนี้เรียนจบ’’   มูฮัมหมัดตอฮา พูดไปพลางเดินพาเราชมผลงาน    

       ในฐานะที่ทำงานศิลปะเขาจึงอยากเป็นตัวกลางสื่อสารเรื่องราว ผ่านงาน เพื่อจะสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่สามจังหวัด ให้สังคมภายนอกได้รับรู้ กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยไม่คิดว่าผลตอบรับจะออกมาเป็นเช่นไร

                    สิ่งที่เป็นหัวใจของ’’Checkpoint‘’ คือการที่พวกเราได้แทนความรู้สึกในฐานะศิลปินและเป็น  คนในพื้นที่ การใช้แทน สัญลักษณ์ สัญยะ โดยใช้วัตถุตีความ เหมือนการได้วาดภาพความทรงจำลงในพื้นที่อิสระคือ กระดานสีขาว เรื่องราว ที่เชื่อมโยงกับปัญหาของ สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่คนภายนอกอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับ'' คนสามจังหวัดชายแดนใต้ มันกระทบกับการใช้ชีวิตของพวกเรามาก''

                  มูฮัมหมัดตอฮา หะฮียูโซ๊ะ ได้เล่าต่อว่า ผลงานของตัวเอง ใช้ตะปูแทนคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ได้รับผลกระทบของปัญหาความรุนแรง ทุกคนในพื้นที่ได้รับปัญหาทุกคน  อีกนัยยะหนึ่งที่ต้องการสื่อสารของตะปูคือ ความแข็งแกร่ง ผมเชื่อว่าคนในพื้นที่ก็เปรียบเช่นตะปูที่มีความแข็งแกร่ง  ด่าน ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ทางกายภาพ สิ่งที่สำคัญคือกระทบต่อจิตใจคนในพื้นที่มากกว่า..

                อีกผลงานหนึ่งชิ้นที่น่าสนใจไม่แพ้กันคืองานของ อิซูวัน ชาลี อีกหนึ่งศิลปินที่ถ่ายทอดผลงาน โดยใช้เศษไม้ยางพารา เป็นชิ้นเล็กๆ อิชูวัน ให้เหตุผลว่า ที่ใช้ไม้ยางพาราเพราะว่าคุณพ่อที่บ้านปลูกยางพารา และเป็นอาชีพที่คนในพื้นที่นิยมกัน อีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่เลือกใช้สื่อความหมาย คือไฟสีแดง แทนด่านต่างๆในพื้นที่ เป็นการใช้สัญลักษณ์ที่ตรงไปตรงมา ไฟสีแดงที่เปรียบเสมือนสิ่งกีดขวางทาง เมื่อเจอไฟสีแดงก็ต้องหยุด

                    ‘’ concept ’’  ทั้งหมดถูกถ่ายทอดเป็นงานศิลปะประเภทจิตกรรมใช้วัตถุที่หาได้ง่าย ติดแปะ ตะปู แผ่นผ้า เศษถ้วยแตก ลูกปัก กระดุม ไม้ยางพารา และอื่นๆอีกมากมาย ร้อยเรียงออกมาจนเป็นผลงาน

             ศิลปินสะท้อนต่ออีกว่า ไม่ใช่แค่ พวกเขาเท่านั้นที่มีคำถาม เกี่ยวกับด่านในพื้นที่ แต่ยังมีอีกหลายคำถามที่ไม่ได้มีโอกาสได้พูด เหมือนพวกเรา  ‘’ ผมว่ามันดีมากนะที่ชาวบ้าน คนทั่วไป สามารถตั้งคำถามขึ้นเองได้ว่าสิ่งที่เขากำลังประสบอยู่ มันสมเหตุสมผลหรือเปล่า

 

            สำหรับศิลปินดีใจมากที่ได้ใช้วิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาถ่ายทอดเรื่องราวจนออกมาเป็นงานศิลปะ  และการที่เราเป็นคนในพื้นที่จึงมีความภูมิใจมากเป็นพิเศษที่ได้ใช้ศิลปะที่เล่าเรียนมาเล่าปัญหาของบ้านเกิด ตัวเองให้สังคมได้รับรู้  ''ในมุมมองของผมบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันตามสาขาที่เล่าเรียนมา ทุกคนมีเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เราต่างคนต่างทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพราะสุดท้ายธงที่อยู่ในใจของพวกเราคือ การเห็นบ้านอันเป็นที่รักนั้นสงบ...''

      ที่ใครต่อใครหลายคนเคย ให้คำนิยามของศิลปะว่า คือความสวยงาม มันก็น่าจะเป็นไปได้  แต่คงจะเป็นคนสวยงามที่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว  แล้วแต่คนจะตีความ จะเข้าใจ ว่าสิ่งที่ตาสำผัสได้มันสวยงามแค่ไหน และมันมีคุณค่าอะไรซ่อนอยู่  นอกเหนือจากนั้น ศิลปะยังช่วยต่อลมหายใจของศิลปินได้ด้วยและลมหายใจนี้ที่ทำให้พวกเขา สร้างงานศิลปะเพื่อจรรโลงจิตใจของคนในสังคม  และสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย..

 

  นิทรรศการงานศิลปะCheckpoint   ที่จัดแสดงที่  patani  artspace  จังหวัดปัตตานี 17/7 หมู่ 1 ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก  จังหวัดปัตตานี สิ้นสุดการเเสดงผลงานไปเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา 








Article

Visitors: 2,021