''TORTURED''เสียงจากผู้ได้รับกระทบในพื้นที่สามจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

 

 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดนิทรรศการ TORTURED นิทรรศการของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกซ้อมทรมานและครอบครัว ทีจัดแสดงที่ patani artspace   ร่วมกับศิลปินปาตานี

        นิทรรศการครั้งนี้ จัดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มด้วยใจ เครือข่ายจิตอาสาจากความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เครือข่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัด  ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ เจะ อับดุลเลาะ สอเหาะ  patani artspace และคุณอังคณา นีละไพจิตร มาร่วมเปิดนิทรรศการในครั้งนี้โดยงานได้เริ่มจัดขึ้น ตั้งแต่ 17.00 เป็นต้นไป ณ . patani artspace มีผู้เข้าร่วมจากหลาย องค์กร ทั้งประชาชน นักเรียน – นักศึกษา เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ที่ต่างให้ความสนใจกับนิทรรศการในครั้งนี้  ทำให้บรรยากาศในงานค่อยข้างคึกคักเป็นพิเศษ

     

           งานศิลปะครั้งนี้ถูกถ่ายทอด โดยผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานในพื้นที่สามจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส. ที่ได้รับผลกระทบทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนั้น เป็นตัวบั่นทอนทางจิตใจ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต  อีกทั้งผลกระทบต่อ สังคม ขาดการมีส่วนร่วมกับสังคมและคนรอบข้างไป ไม่เพียงแต่เท่านั้นแต่ยังส่ง ผลกระทบทางด้านจิตวิญญาณ การขาดความเชื่อทางด้านหลักการต่างๆ หมดความศรัทธา หมดหวังในชีวิต  สูญเสียความเป็นมนุษย์ นอกจากจะเป็นงานศิลปะจากผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานแล้ว ยังมีผลงาน จากศิลปินปาตานี ที่ได้เชื่อมร้อยความรู้สึกร่วมกับผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมาน นำมาซึ่งผลงานที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเกิดเป็น นิทรรศการศิลปะครั้งนี้....

ความรู้สึกที่ถูกเชื่อมร้อย ระหว่าง ศิลปิน กับ ผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกซ้อมทรมาน

ในช่วงที่ได้รับโจทย์ว่าต้องเชื่อมโยงผลงานกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ซ้อมทรมานเริ่มต้น ศิลปินเตรียมตัวโดยการศึกษาข้อมูล จากนักจิตวิทยา นักศิลปะบำบัดเพื่อ สร้างสรรค์ผลงาน ด้วยความที่พื้นที่มีเรื่องการถูกระเมิดสิทธิมนุษยชน เกิดขึ้น บ่อย ตั้งแต่อดีตจน- ถึงปัจจุบัน ทำให้เข้าใจ และไม่ค่อยกังวลเรื่องการนำเสนอผลงาน 

ผลงานทั้งหมดของผู้ถูกซ้อมทรมานให้ความรู้สึกเดียวกัน คือการไม่ได้รับความยุติธรรมในฐานะมนุษย์ ความแตกต่างอย่างชิ้นเชิงคือเนื้อหาเพราะเรื่องราวที่ทุกคนประสบมานั้นคนละอย่าง แต่สิ่งที่ถูกเชื่อมร้อยคือความรู้สึกที่เจ็บปวดที่ทุกคนได้รับเท่ากัน

ความแตกต่างในการสร้างสรรค์ผลงาน คือทุกงานที่ผ่านมา ใช้ตัวเองเป็นคำตอบของโจทย์ที่ได้รับ   แต่รอบนี้ ต้องเชื่อมโยงความรู้สึกร่วมกับ ผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกซ้อมทรมาน เหมือนคำตอบของโจทย์ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ศิลปินคนเดียว การสร้างกระบวนการในการเข้าใจคือจุดเริ่มต้นจนนำมาสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปินแต่ละคน  ศิลปินต้องศึกษาสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ สภาพบริบท นำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลงาน สิ่งเหล่านี้ทำให้ศิลปินเองได้รับประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา

    การสร้างความเข้าใจกับผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกซ้อมทรมานจนมาเป็นผลงานศิลปะ

                       แผนที่ร่างกาย  bady map ศิลปะเพื่อการบำบัดสภาพจิตใจให้มั่นคง ซึ่งนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม    การทำความเข้าใจกับผู้เสียหาย จนทำให้พวกเขารู้สึกเข้มแข็งอีกครั้ง ต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ที่สำคัญคือการพูดคุย จนนำมาซึ่งการสร้างพื้นที่ร่วมที่ปลอดภัย กระบวนการเหล่านี้จะทำให้ผู้เสียหายเชื่อมั่นกับผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือ ไม่เพียงแต่บุคคลที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ แต่ยังเชื่อมั่นในครอบครัว คนใกล้ชิด ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้พวกเขาสามารถลุกยืนขึ้นได้อีกครั้ง  ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว การบำบัดสภาวะจิตใจของผู้เสียหาย วิธีที่สามารเข้าถึงความเจ็บปวดของพวกเขาได้ดี คือ การใช้ศิลปะเยียวยา    ศิลปะถือเป็นศาสตร์ของการสื่อสารอีกรูปแบบที่ทรงพลังที่ใช้แทนการพูด การกระทำโดยผู้เสียหายได้แสดงออกผ่านภาพวาด พวกเขาสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดี และผลที่เกิดขึ้น คือพวกเขาสามารถมีชีวิตที่ปกติเช่นเดิม

 ‘’การได้มีส่วนร่วมทำให้รู้สึกดีมากขึ้น งานศิลปะทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ ความเจ็บปวด ที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเองในรูปแบบของงานศิลปะ ความรู้สึกเดียวดายที่อยู่ในใจหายไป ผมไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับใคร ‘’

 

ผลงานดังกล่าว จัดทำในรูปแบบภาพวาดเท่าขนาดตัว แผนที่ร่างกาย  bady map เน้นใช้สีสันสวยงามแต่แฝงเรื่องราวความเจ็บปวดของเจ้าของผลงาน ขณะสร้างสรรค์ผลงานพวกเขา นึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต – อนาคต พร้อมมีบทความสั้นๆประกอบกับผลงานแต่ละชิ้น


  ผู้ตกเป็นเหยื่อของการซ้อมทรมานในพื้นที่ คือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ที่เกิดปัญหาทางสภาพจิตใจ หลังจากการถูกควบคุมตัว   จนถึงถูก ซ้อมทรมาน   การถูก ลิดรอน เสรีภาพทางด้านต่างๆ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ

  ‘’ ชีวิตที่มีคุณภาพ คือสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ‘’

คือตัวชี้วัดว่าสังคมนั้น พัฒนา และเดินต่อไปข้างหน้า แต่ตราบใดที่คุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นลดลง  คงเป็นตัวแปรที่ชี้ชัดว่า สังคมนั้น กำลังเดินถอยหลัง 

     หลักสิทธิมนุษยชน คือสิทธิที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิด ทุกคนได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน  การเคารพหลักสิทธิมนุษยชน ชึ่งกันและกัน สามารถช่วยเพิ่มศักย์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน   สิ่งหนึ่งที่ย่ำเตือนความเป็นมนุษย์ในตัวเราได้ คงเป็นการที่เราไม่เพิกเฉยต่อความอยุคติธรรม ควบคุมไปกับความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เพื่อป้องกันไม่ให้สังคมนั้นทรุดโทรมยิ่งขึ้น.


รูปแบบการเยียวยา สู่การพัฒนา คน และพัฒนาชุมชน

   หลังจากผ่านเหตุการณ์จากการถูกซ้อมทรมาน สภาพจิตใจคือสิ่งที่กู้กลับคืนมาได้ยากยิ่ง สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยให้พวกเขา กลับมาใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติคือ การอยู่กับสภาพความจริง....

       การสร้างให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีเป็นเสมือนตัวช่วยที่จะทำให้ชุมชนนั้นเข้มแข็งขึ้นเพราะฐานที่สำคัญของการพัฒนา คือการที่ชุมชนนั้นเข้มแข็ง คนในชุมชนมีอำนาจในการตัดสินใจ มีศักยภาพที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้  โดยต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างทั้งความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายต่างๆ  ที่ต้องเป็นตัวกระตุ้น ให้คนในชุมชนใส่ใจกับปัญหา แล้วลุกขึ้นมาจัดการ  โดยมีการทำงานร่วมกัน แต่มิใช่การทำแทน และที่สำคัญมากที่สุดคือการทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง และผลักดันให้ชุมชนเกิดการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลง ไป ในรูปแบบที่ชุมชน สามารถจัดการได้ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ตกเป็นภาระของใครเพียงแค่หนึ่งคนและรูปแบบการพัฒนานั้นต้องไม่เป็นการผลักภาระให้กับชุมชน คนในชุมชนต้องพร้อมรับมือกับรูปแบบการพัฒนา และเชื่อมั่นว่าการพัฒนานั้นจะทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นไปกว่าเดิม 

              การเกิดความรู้สึกร่วม สำนึกร่วม ตระหนักถึงผลประโยชน์ และปัญหาร่วมกัน จนนำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึงบริบทชุมชน หรือทรัพยากรต่างๆที่เอื้อต่อการพัฒนา แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ตัวคนในชุมชนเองที่จะสามารถลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาของตัวเองได้   การ เยียวยา ผู้ได้รับผลประทบจากเหตุการณ์ ทำให้สุขภาพทางจิตใจและร่างกายของพวกเขาดีขึ้นได้ เพื่อการที่พวกเขาจะกลับเข้าไปอยู่ในชุมชนเช่นเดิม อยู่ร่วมกันกับครอบครัวอีกครั้งและร่วมพัฒนาชุมชนของเขาให้ดีขึ้น

 

         ศิลปะยังเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก เพราะความงามของผลงานแต่ละชิ้นถูกซ้อนไว้ที่เนื้อหามากกว่าภาพลักษณ์ของงาน ผู้ชมต้องใช้ความรู้สึกไขกุญแจเข้าไปถึง จะเห็นความงามของศิลปะอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องที่ไม่เข้าใจไม่ใช่เรื่องที่ถูก หรือ ผิด เพียงแต่ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน ความคิดหรือทัศนคติ ที่เป็นตัวแปรสำคัญ ในการทำความเข้าใจศิลปะ     เสน่ห์ของศิลปะ คือการที่ไม่มีถูกผิดมาตีกรอบทุกคนสามารถ ตีความ และหาคำตอบ แนวคิด ของศิลปิน ได้หลายเรื่องราว ทำให้ศิลปะไม่หยุดอยู่กับที่ และทำงานไปพร้อมกัน

  

    วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ จัดขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกซ้อมทรมาน ในพื้นที่สามจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส.  และเยียวยาสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ ให้กลับมาเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างภาคประชาชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่ องค์กรต่างๆ ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ  หวังอย่างยิ่งว่า จะสามารถสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนได้และลดความเข้มข้นของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส.

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลงานจัดแสดงที่ patani artspac 17/7 ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีตั้งแต่วันนี้ - วัน ที่ 30 มกราคม 2563 หากใครสนใจสามารถเข้ามาชมผลงานได้ทุกวันตั้งแต่ 09. 00- 21.00 เปิดให้ชมนิทรรศการทุกวัน

 

 

 

 

 

 

Visitors: 2,021